วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Stradivarius ไวโอลินที่เสียงดีที่สุดในโลก




• ผู้สร้างไวโอลินที่มีคนขนานนามว่าเสียงดีที่สุดในโลกมีชื่อว่า อันโตนิโอ สตาดิวารี (Antonio Stradivari) เขาเกิดในเมืองเครโมน่า
• ในช่วงต้นประมาณปี 1680 อันโตนิโอ สตาดิวารี (Antonio Stradivari) ได้สร้างแบบแผน หรือสไตล์ในการทำไวโอลินเฉพาะตัวขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจากแบบแผนของ อมาตี (Amati)
• มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ได้ค้นพบวัสดุ ตลอดจนวิธีทำไวโอลินเหล่านี้ มีการค้นพบว่า ไม้เมเปิ้ล (Maple) ที่ถูกใช้ในการทำไวโอลิน หรือเชลโล่นั้น โดยช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงนั้น น่าจะถูกปรับสภาพโดย กระบวนการทางเคมี (Chemical Process treatment) เพื่อรักษาคุณภาพ ของ เสียง, โทนเสียง ตลอดจน ไดนามิคเสียงของเครื่องดนตรี (Dynamism of the Instrument)
• ไม้ที่ใช้ในการทำไวโอลินนั้น ส่วนบน (Harmonic top) นั้นจะใช้ไม้ สปรูซ (Spruce), ไม้วิลโล่ สำหรับภายใน และไม้เมเปิ้ลสำหรับ ส่วนข้าง, หลัง และก็คอ ของไวโอลิน
• ไม้จะถูกปรับสภาพโดย สารหลายชนิด เช่น โปแทสเซียม บอแร็ต (borax), โซเดียม และ โปแทสเซียม ซิลิเก็ต (Sodium and Potassium silicate), และ ก็ vernice Bianca รวมถึงวานิชที่ประกอบด้วย Arabic gum, น้ำผึ้ง และไข่ขาว การปรับสภาพไม้ที่ใช้กันในเครโมน่าในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ปรากฎใน Paris, London หรือแม้กระทั่งในช่วงสมัยใหม่
• จากการค้นพบข้างต้น มันเป็นการเข้าใจแล้วว่า วานิชของสุดยอดไวโอลินเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นในระดับของนาโนเมตร (Nanometer or หนึ่งส่วนล้านของมิลลิเมตร) ซึ่งทำให้สามารถสร้างไวโอลินที่สง่างามเหล่านี้เมื่อ 300 ปี ก่อน
เมื่อ ฤดูร้อนที่ผ่านมา(2011) ไวโอลิน Stradivarius ถูกประมูลไปด้วยราคา 15.9 ล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ 477 ล้านบาท) ไวโอลินจากศตวรรษที่ 17 ของ Stradivarius ได้รับการกล่าวขานว่ามีเสียงดีที่สุดในโลก และทำให้มันมีราคาแพงที่สุดในโลกเช่นกัน แต่ อีกไม่นานนักไวโอลินทั้งหลายอาจจะได้สีไวโอลิน(เลียนแบบ)ของ Stradivarius ในราคาที่ประหยัด
  • คาดว่าในปัจจุบันมีไวโอลิน Stradivarius อยู่เพียง 620 อันเท่านั้น
  • ทีม จาก the Radiological Society of North America ใช้เวลา 2 ปี ในการใช้เครื่อง CT สแกน ไวโอลินต้นแบบของ Stradivarius ที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐ(US Library of Congress) โดยใช้ภาพสแกนกว่า 1000 ภาพสร้างเป็นภาพสามมิติแล้วใช้เครื่องแกะที่เรียกว่า CNC ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทำการสร้างไวโอลินเลียนแบบขึ้นมาให้ มนุษย์ธรรมดาๆสามารถเอื้อมถึงสุดยอดไวโอลินอันนี้
  • โดยทีมงานมีเป้า หมายอยู่ 2 สิ่งในการทำงานคือ หนึ่งเข้าใจการทำงานของไวโอลินของ Stradivarius และสองสร้างมันขึ้นมาใหม่ให้นักไวโอลินรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสัมผัสมันบ้าง
  • ยัง ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าทำไม ไวโอลินของ Stradivarius จึงเสียงดีบ้างก็คาดว่าเพราะ รูปทรงของไวโอลิน บ้างก็ว่าความหนาแผ่นไม้ บ้างก็เชื่อว่าเพราะสารเคมีบางอย่างที่ใช้รักษาเนื้อไม้ไวโอลิ
  • ปล.ปัจจุบัน ไวโอลินของ Stradivarius เกือบทั้งหมดแทนจะไม่มีการหยิบขึ้นมาบรรเลง แต่มันถูกเป็นของสะสมล้ำค่าของอภิมหาเศรษฐี หรือนอนสงบนิ่งในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ

ข้อมูล : wowboom,thaivirtuoso